สรุป วอร์แรนท์ คืออะไร เข้าใจในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน
ถ้าใครเคยจองซื้อคอนโดฯ เจ้าของโครงการจะออกเอกสารที่แสดงถึงการจองสิทธิเพื่อซื้อคอนโดฯ ไว้เบื้องต้น โดยเรามีหน้าที่วางเงินเป็นหลักประกัน และชำระเงินตามเงื่อนไขภายในวันเวลาที่กำหนด
แต่ถ้าเราไม่ทำตามเงื่อนไขภายในระยะเวลาที่กำหนด คอนโดฯ ที่เราจองไว้ก็จะถูกนำไปขายให้คนอื่น ซึ่งแนวคิดนี้ก็มีส่วนคล้ายคลึงกับ การถือสิ่งที่เรียกว่า “วอร์แรนท์”
หลายคนรู้จักและคุ้นเคยกับการซื้อขายหุ้น แต่ก็มีหลายคน อาจจะยังไม่รู้จักวอร์แรนท์ ทั้งที่ก็เคยได้ยินคำนี้มาบ่อยครั้ง
แล้ว วอร์แรนท์ คืออะไร ?
และทำไมบางบริษัทชอบออกตราสารประเภทนี้ให้กับผู้ถือหุ้น
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
วอร์แรนท์ คือ ตราสารที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่วอร์แรนท์นั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Asset) ซึ่งมีตั้งแต่หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน โดยจะกำหนดราคาใช้สิทธิ (Exercise Price) เอาไว้
ที่เราคุ้นเคยกัน หลักทรัพย์ที่มีวอร์แรนท์อ้างอิงมักเป็น หุ้นสามัญของบริษัทต่าง ๆ
โดยทั่วไป บริษัทจดทะเบียนมักจะแจกวอร์แรนท์ฟรีให้ผู้ถือหุ้นเดิม
ทั้งนี้ก็เพื่อดึงดูดใจให้มาใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มในอนาคต
โดยเงื่อนไข รายละเอียด หรือจุดสำคัญ ที่ผู้ถือวอร์แรนท์ต้องทำความเข้าใจให้ดี ๆ จะประกอบไปด้วย ราคาใช้สิทธิ, รายละเอียดการใช้สิทธิ, ระยะเวลาที่ใช้สิทธิได้ และอายุคงเหลือของวอร์แรนท์
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็เช่น
สมมติว่า เราเป็นเจ้าของธุรกิจร้านกาแฟและจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้น ต่อมาคิดว่าอีก 3 ปีข้างหน้า เราต้องการใช้เงินทุนเพื่อขยายสาขาไปต่างประเทศ
ดังนั้น เราจึงต้องการออกวอร์แรนท์ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม
โดยกำหนดให้ อัตราส่วนหุ้นต่อวอร์แรนท์ที่จะได้รับ คือ 4:1, อัตราส่วนการแปลงสภาพ คือ 1:1, ราคาใช้สิทธิ 20 บาท ใช้สิทธิได้ปีละครั้ง และเริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่ 30 ธ.ค. 2564 ไปจนถึง 30 ธ.ค. 2568
ซึ่งในกรณีนี้สรุปได้ว่า
- ผู้ที่ถือหุ้นในธุรกิจร้านกาแฟของเรา ถ้าถือหุ้นอยู่ 4 หุ้นจะได้ 1 วอร์แรนท์
- ผู้ถือหุ้นสามารถใช้ 1 วอร์แรนท์ แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ 1 หุ้น โดยจ่ายเงินให้บริษัทเรา 20 บาท
- วอร์แรนท์มีอายุ 4 ปี โดยใช้สิทธิแปลงสภาพได้ปีละครั้ง โดยผู้ถือหุ้นจะเริ่มใช้สิทธิได้ครั้งแรก ในวันที่ 30 ธ.ค. 2564 และครั้งสุดท้ายในวันที่ 30 ธ.ค. 2568
ทั้งนี้ เมื่อผู้ถือวอร์แรนท์มาใช้สิทธิในการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ บริษัทจดทะเบียนที่ออกวอร์แรนท์ ก็จะได้เงินทุนเพิ่ม เพื่อมาใช้ในกิจการ ส่วนคนที่มาใช้สิทธิแปลงวอร์แรนท์เป็นหุ้นสามัญก็จะได้หุ้นเพิ่ม
อย่างไรก็ตาม มันยังมีอีกกรณีหนึ่ง
คือคนที่ถือวอร์แรนท์อยู่ อาจไม่เก็บวอร์แรนท์ไว้ใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญด้วยตัวเองก็ได้
เนื่องจากวอร์แรนท์นั้นสามารถนำไปขายเปลี่ยนมือในตลาดหุ้นได้ และราคาของวอร์แรนท์ในตลาด ในแต่ละช่วง ก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามหลาย ๆ ปัจจัย เช่น
1. ราคาสินค้าสินทรัพย์อ้างอิง
วอร์แรนท์จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามราคาสินทรัพย์อ้างอิงที่สูงขึ้น และลดลงหากราคาหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นลดลง
2. ราคาใช้สิทธิ เทียบกับราคา สินทรัพย์อ้างอิง
หากราคาใช้สิทธิ สูงกว่าราคาสินทรัพย์อ้างอิงมาก ๆ ก็จะทำให้ราคาของวอร์แรนท์นั้นต่ำ
เนื่องจากนักลงทุนมองว่า โอกาสที่ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงจะปรับตัวสูงกว่าราคาใช้สิทธินั้นมีน้อย ซึ่งหากเอาวอร์แรนท์นั้นไปใช้สิทธิแปลงเป็นหุ้นสามัญแล้วเอามาขาย ก็ย่อมขาดทุน
3. อายุคงเหลือของสัญญา
มูลค่าของวอร์แรนท์จะค่อย ๆ ลดลง ตามอายุคงเหลือของวอร์แรนท์ที่ลดลง และถ้าวอร์แรนท์ไม่ได้ถูกใช้สิทธิภายในเวลาที่กำหนด วอร์แรนท์นั้น “จะมีค่าเป็นศูนย์”
4. ความผันผวนของราคาสินทรัพย์อ้างอิง
ความผันผวนของระดับราคาสินทรัพย์อ้างอิง ยิ่งมีมากขึ้น จะส่งผลให้ราคาของวอร์แรนท์มีการเคลื่อนไหวผันผวนสูงตามไปด้วย
สำหรับคนที่มีวอร์แรนท์อยู่ในมือ
กรณีที่ราคาใช้สิทธิรวมกับราคาวอร์แรนท์แล้ว (กรณีที่ซื้อวอร์แรนท์มา) ต่ำกว่าราคาหุ้นที่อ้างอิงในตลาด ก็จะสามารถใช้สิทธิซื้อหุ้น และเอาหุ้นนั้นไปขายในตลาดทำกำไร ซึ่งวอร์แรนท์นั้นจะถือว่ามีมูลค่า หรือเรียกว่า “In-the money”
ในทางกลับกัน ถ้าราคาใช้สิทธิรวมกับราคาวอร์แรนท์ (กรณีที่ซื้อวอร์แรนท์มา) สูงกว่าราคาหุ้นอ้างอิงในตลาด ผู้ถือก็มักไม่ใช้สิทธิ เพราะไปซื้อหุ้นนั้นในตลาดได้ในราคาที่ถูกกว่า
วอร์แรนท์นั้น ก็จะถือว่าไม่มีมูลค่า หรือเรียกว่า “Out-of-the money”
โดยสิ่งที่ทำให้วอร์แรนท์ดึงดูดผู้ลงทุนคือ ความเป็น Leverage หรือที่หมายถึง การลงทุนที่ใช้เงินน้อยแต่มีโอกาสได้กำไรมาก โดยจำกัดความสูญเสียไว้ ซึ่งอย่างมากที่สุดก็คือ ต้นทุนที่ได้วอร์แรนท์มา
ซึ่งบางคนได้มาฟรี ๆ ก็อาจมองว่าไม่เสียหายอะไร
ส่วนผู้ที่ซื้อมาจากในตลาดอีกที แล้วใช้สิทธิไม่ทันหรือเลือกไม่ใช้สิทธิ ก็จะขาดทุนเท่าราคาที่ซื้อมา
ถึงตรงนี้ คำถามที่บางคนอาจสงสัยก็คือ แล้วถ้าบริษัทต้องการเงินทุนเพิ่ม ทำไมไม่เลือกที่จะขอเพิ่มทุนตรง ๆ จากผู้ถือหุ้น แต่กลับเลือกที่จะออกวอร์แรนท์
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า การเพิ่มทุนจะเกิดผลกระทบจาก Dilution Effect ในทันที ซึ่งเป็นผลมาจากการที่จำนวนหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาต่อหุ้นปรับตัวลดลง
นอกจากนี้ ในช่วงเวลาที่สภาพตลาดหุ้นไม่ดี การเพิ่มทุนมักจะทำได้ยาก หรือถ้าบริษัทต้องการเพิ่มทุน บริษัทก็ต้องลดราคาขายหุ้นเพิ่มทุนลงมา
ซึ่งไม่เพียงแต่กระทบกับผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท แต่ยังทำให้บริษัทมีโอกาสได้เงินเพิ่มทุนน้อยกว่า ช่วงที่สภาพตลาดหุ้นคึกคัก ที่มีโอกาสขายหุ้นเพิ่มทุนได้ในราคาสูงกว่า
การออกวอร์แรนท์นั้น สามารถชะลอผลกระทบของ Dilution Effect เนื่องจากจำนวนหุ้นเพิ่มทุนจะยังไม่เพิ่มขึ้นทันที จนกว่าผู้ถือวอร์แรนท์จะมาใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ และจะเกิดขึ้นภายในช่วงเวลาที่กำหนดไว้
นอกจากนี้ การออกวอร์แรนท์ ยังช่วยลดสัดส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัท หรือ Debt to Equity Ratio (D/E Ratio) เพราะเมื่อวอร์แรนท์ถูกใช้สิทธิแปลงสภาพ จะถูกบันทึกเข้ามาอยู่ในส่วนทุน ต่างจากกรณีที่บริษัทไปกู้ยืมเงินมา ซึ่งจะถูกบันทึกเป็นหนี้สิน
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็จะสรุปได้ว่า
วอร์แรนท์ เป็นตราสารที่ผู้ถืออาจได้มาฟรีหรือไม่ฟรีก็ได้
ในกรณีที่เป็นผู้ถือหุ้นเดิม อาจได้รับวอร์แรนท์มาฟรี ๆ หรือพ่วงมากับการขอเพิ่มทุนในรอบก่อน ๆ ส่วนคนที่ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทที่แจกวอร์แรนท์ ถ้าอยากได้ ก็ต้องไปซื้อเอาจากคนที่เอามาขายต่อในตลาด
ส่วนคนที่มีวอร์แรนท์อยู่ในมือ ก็สามารถเลือกที่จะใช้สิทธิ หรือไม่ใช้สิทธิก็ได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดมา
สำหรับการออกวอร์แรนท์
ในแง่ของบริษัทที่ออกวอร์แรนท์ ต้องคาดการณ์มูลค่าเงินทุนที่บริษัทต้องการใช้ในอนาคต ให้สอดคล้องกับอายุของวอร์แรนท์ รวมไปถึงราคาใช้สิทธิ เพื่อลดผลกระทบด้าน Dilution Effect ให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัท รวมทั้งนำเงินทุนที่ได้จากการแปลงสภาพไปสร้างผลตอบแทนให้เหมาะสม
ส่วนในแง่ของผู้ถือวอร์แรนท์ ก็ต้องศึกษารายละเอียดการใช้สิทธิแปลงสภาพ และเงื่อนไขต่าง ๆ ของวอร์แรนท์อย่างละเอียด โดยเฉพาะเรื่องของ อายุคงเหลือของวอร์แรนท์ และเข้าใจความเสี่ยงของการถือหรือลงทุนในวอร์แรนท์ให้ดี
เพราะเราอาจยังสามารถถือหุ้นอยู่ได้ เมื่อบริษัทเกิดปัญหาและราคาหุ้นปรับตัวลดลง ถ้าเชื่อว่าในอนาคตธุรกิจของบริษัทจะฟื้นตัวกลับมาจนทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น
แต่เราไม่สามารถถือวอร์แรนท์ไปได้ตลอด เพราะวอร์แรนท์มีอายุที่จำกัด
ซึ่งถ้าเราซื้อวอร์แรนท์นั้นมาในราคาสูง มันก็ทำให้เราขาดทุนหนักได้เช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.sec.or.th/TH/Pages/Investors/EquityProduct-Warrants01.aspx
-https://en.wikipedia.org/wiki/Warrant_(finance)
-https://www.drwealth.com/5-factors-affecting-the-price-of-warrants/
-https://sias.org.sg/beginners-guide/key-factors-that-determine-a-warrant-price/
-https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/warrant_issue_p1.html
同時也有106部Youtube影片,追蹤數超過55萬的網紅3cTim哥生活日常,也在其Youtube影片中提到,這次找了10號員工來幫忙當個Model拍5G手機 vivo X70 Pro實測開箱 這拍照太強了到底是相機還是手機?而且電力足有快充 螢幕尺寸大又輕 vivo官網:https://vivobm.tw/x70por 加入我的Line@生活圈⬇︎ @3ctim 訂閱3cTim哥副頻道⬇︎ http:...
「spotify price」的推薦目錄:
- 關於spotify price 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於spotify price 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於spotify price 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於spotify price 在 3cTim哥生活日常 Youtube 的最佳解答
- 關於spotify price 在 3cTim哥生活日常 Youtube 的最佳解答
- 關於spotify price 在 3cTim哥生活日常 Youtube 的精選貼文
- 關於spotify price 在 Spotify and YouTube raise their premium-service pricing 的評價
- 關於spotify price 在 Connor Price & Nic D - Let Go (Spotify Single) Lyric Video 的評價
spotify price 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
สรุปการล่มสลาย Mt. Gox กระดานคริปโท ที่เคยใหญ่สุดในโลก /โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า 650,000 บิตคอยน์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 9 แสนล้านบาทในปัจจุบัน เคยโดนขโมยไปจากที่แห่งนี้ และเป็นสาเหตุทำให้กระดานคริปโทเคอร์เรนซีที่เคยใหญ่สุดในโลกต้องล่มสลาย
ก่อนหน้าที่ Binance จะกลายเป็น Exchange ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีที่ใหญ่สุดในโลกในปัจจุบัน ก่อนหน้านี้เคยมี Crypto Exchange รายหนึ่งเป็นเจ้าตลาดมาก่อน
โดยมีส่วนแบ่งปริมาณการซื้อขายสูงถึง 80% ของการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีทั่วโลก
Exchange นี้มีชื่อว่า “Mt. Gox” ที่ถูกก่อตั้งโดยผู้สร้างเหรียญ XRP
แต่สุดท้าย Exchange นี้ต้องปิดตัวเพราะถูกแฮกเกอร์ขโมยบิตคอยน์จากระบบไปจำนวน 650,000 เหรียญ หากคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันจะสูงถึง 960,365 ล้านบาท
การแฮกเป็นเพียงแค่ปลายทาง ของสาเหตุการล่มสลาย
แต่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาจริง ๆ คือ การบริหารจัดการที่ไม่ดีของผู้บริหาร
Mt. Gox ถือเป็นตัวอย่างที่ดีว่า หากผู้บริหารไม่ดี ละเลย และขาดประสบการณ์
สามารถส่งผลที่ร้ายแรงต่อบริษัทขนาดไหน
เรื่องราวของ Mt. Gox น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ปลายปี 2006 โปรแกรมเมอร์คนหนึ่งชื่อว่า Jed McCaleb คิดอยากสร้างเว็บไซต์สำหรับแลกเปลี่ยนการ์ดเกมออนไลน์ที่ชื่อว่า Magic: The Gathering Online ขึ้นมา
หลายคนคงคุ้นชื่อของคนคนนี้ ก็ไม่ต้องแปลกใจ
เพราะว่าเขาเป็นผู้ก่อตั้ง Ripple และเหรียญ XRP ที่เจ้าตัวชอบเทขายเป็นประจำ
รวมไปถึง Stellar และเหรียญ XLM อีกด้วย
ต่อจากเหตุการณ์ข้างต้น เขาจึงไปจดโดเมนเว็บไซต์เป็นของตัวเองชื่อว่า Mt. Gox
ซึ่งย่อมาจาก Magic: The Gathering Online eXchange
แต่พอผ่านไปสักระยะหนึ่ง McCaleb คำนวณแล้วว่าไม่คุ้มกับเวลา จึงเปลี่ยนไปทำโปรเจกต์อื่นแทน
จนกระทั่งปี 2010 เขาได้รู้จักกับชุมชนบิตคอยน์ผ่านบอร์ดออนไลน์แห่งหนึ่ง
ชุมชนออนไลน์นี้ทำให้ McCaleb รับรู้ว่าระบบการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีในช่วงนั้นไม่ค่อยดีนัก
เขาจึงตัดสินใจลงไปลุยธุรกิจนี้ โดยการเปลี่ยน Mt. Gox ให้กลายเป็น Crypto Exchange
แต่เวลาต่อมา McCaleb พบว่าการพัฒนาธุรกิจให้มีศักยภาพ ต้องใช้แรงกายและเวลาอย่างมาก
ดังนั้นการส่งมอบธุรกิจให้กับคนอื่นที่พร้อม ก็อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
เขาเลยขายธุรกิจให้แก่ Mark Karpeles โปรแกรมเมอร์ผู้คลั่งไคล้บิตคอยน์ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น
โดยทั้งสองทำข้อตกลงเพิ่มด้วยว่า McCaleb จะยังคงได้รับส่วนแบ่ง 12% จากรายได้ตลอดไป
หลังจากตกลงกันเรียบร้อยแล้ว Karpeles ไม่รอช้าเริ่มเขียนซอฟต์แวร์เสริมให้กับเว็บไซต์ทันที
และเปิดให้ใช้บริการ Crypto Exchange อย่างเป็นทางการ
อย่างที่รู้กัน เมื่อใดที่เกี่ยวกับเรื่องเงิน ก็เป็นปกติที่มักจะมีผู้ไม่หวังดีอยู่เสมอ
Mt. Gox โดนแฮกครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2011
ส่งผลให้เว็บไซต์ต้องออฟไลน์เป็นเวลาหลายวัน
ในเรื่องโชคร้ายก็มีโชคดีอยู่บ้าง เมื่อ Jesse Powell และ Roger Ver สองโปรแกรมเมอร์ระดับมืออาชีพจากชุมชนบิตคอยน์อาสาเข้ามาช่วยเหลือได้ทันพอดี
จึงทำให้ Mt. Gox สามารถกลับมาเปิดให้บริการได้อีกครั้ง
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้บริษัทกลายเป็นที่ชื่นชอบของชุมชนบิตคอยน์
เพราะปกติแล้วบริษัท Crypto Exchange รายอื่น ๆ หลังจากโดนแฮกแล้ว มักจะปิดตัวลงโดยทันที
แต่ Mt. Gox ที่บริหารโดย Karpeles กลับไม่ได้ทำเช่นนั้น
อย่างไรก็ตาม 2 อาสาสมัครแปลกใจว่าทำไม Karpeles ถึงดูนิ่งเฉยกับเหตุการณ์ครั้งนี้อย่างมาก
ขนาดที่ว่าเขายังประกาศหยุดงาน ทั้ง ๆ ที่ปัญหายังแก้ไขไม่สำเร็จ
แต่สุดท้ายทั้งสองก็ไม่ได้คิดอะไรและแยกย้ายกลับไป
หลังจากนั้นเป็นต้นมา Mt. Gox ยังคงให้บริการ Crypto Exchange เรื่อยมา
จนกระทั่งปี 2013 บริษัทได้ขึ้นแท่นมาสู่อันดับ 1 ของ Crypto Exchange
ทั้งด้านมูลค่าปริมาณการซื้อขายที่สูงที่สุดในโลก ด้วยปริมาณสูงถึง 80% ของโลก
รวมถึงเป็น Crypto Exchange ที่ได้รับความเชื่อถือจากเหล่าบริษัทต่าง ๆ
ในตอนนั้นราคาบิตคอยน์ พุ่งทะยานแตะ 30,000 บาทจาก 300 บาท ภายในเวลาเพียง 1-2 ปีเท่านั้น ส่งผลให้ Karpeles กลายเป็นมหาเศรษฐีในชั่วพริบตา
จากการเป็นทั้งผู้ถือเหรียญบิตคอยน์ และเจ้าของบริษัท Mt. Gox
แม้ว่าฐานะทางการเงินและผลประกอบการของบริษัทจะเติบโตไปในทิศทางที่ดี
แต่ Karpeles ก็ยังดูไม่ให้ความสำคัญกับการบริหารบริษัทให้ดีนัก บางครั้งดูละเลยด้วยซ้ำ
เช่น Karpeles ไม่ค่อยลงทุนในซอฟต์แวร์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของนักพัฒนา
บ่อยครั้งพนักงานเหล่านี้ ต้องเสียเวลาในการเขียนโคดขึ้นมาเองใหม่หมด
อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญสำหรับธุรกิจคือ Karpeles รวบอำนาจเบ็ดเสร็จไว้ที่ตนเอง
ส่งผลให้การจะทำอะไรสักอย่างเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและยุ่งยากมากขึ้น
อย่างเช่น Karpeles เป็นเพียงคนเดียวที่สามารถอนุมัติการเปลี่ยนแปลงโคดของเว็บไซต์ได้
แสดงว่าหากเว็บไซต์เกิดปัญหาขึ้นมา จะต้องรออนุมัติจากเขาก่อน
ซึ่งจากคำกล่าวของพนักงานบางรายบอกว่า ที่ผ่านมามีหลายครั้ง พวกเขาต้องใช้เวลานานเกือบสัปดาห์ถึงจะสามารถแก้ไขโคดที่เป็นปัญหาได้
และที่หนักหนาที่สุดคือหลายครั้งที่ระบบ Crypto Exchange มีการอัปเดต
บริษัทไม่มีการทดสอบระบบ พวกเขาปล่อยให้ใช้บริการโดยทันที
นั่นหมายความว่า ระบบอาจยังหลงเหลือข้อผิดพลาด ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายต่อลูกค้า
การบริหารที่ย่ำแย่ของ Karpeles ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่สิ่งที่จะส่งผลเลวร้ายโดยทันที
แต่ค่อย ๆ สร้างปัญหาทีละเล็กทีละน้อย จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ในที่สุด
จากการไม่สนใจเรื่องกฎระเบียบระหว่างประเทศ Mt. Gox ถูกหน่วยงานของสหรัฐอเมริกายึดเงินจำนวน 166 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทไม่ได้ลงทะเบียนกับรัฐบาลในฐานะตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ
ต่อมา Mt. Gox ถูกฟ้องเป็นเงิน 2,500 ล้านบาทโดยอดีตหุ้นส่วนธุรกิจชื่อ CoinLab
ด้วยสาเหตุจากความล่าช้าของการถอนเงินจากบัญชีในระบบ
แค่ 2 เรื่องนี้ก็ถือเป็นปัญหาใหญ่ เพราะความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับวงการการเงิน
ส่งผลให้ความนิยมของ Mt. Gox ค่อย ๆ ตกอันดับลงไปอยู่อันดับที่ 3
แต่อย่างที่หลายคนคงจะคาดเดาได้ไม่ยาก Karpeles ยังไม่ใส่ใจกับการแก้ปัญหานี้เลย
เขากลับหมกมุ่นในโครงการใหม่แทนที่มีชื่อว่า The Bitcoin Cafe
โครงการร้านแฮงเอาต์สุดเก๋ โดยตั้งอยู่ในอาคารเดียวกับสำนักงาน Mt. Gox
ซึ่งทุกอย่างภายในร้าน สามารถชำระด้วยบิตคอยน์
มีรายงานว่า Mt. Gox ใช้เงินจำนวนถึง 33 ล้านบาทสำหรับโครงการนี้โดยเฉพาะ
ซึ่งหากพิจารณาโครงการนี้แล้ว จะพบว่าแทบไม่สำคัญต่อธุรกิจหลักเลย
แต่เขาก็ยังคงทุ่มเทแรงกาย แรงใจ รวมถึงเม็ดเงินไปกับโครงการนี้
เมื่อทุกอย่างถูกสะสมจนเข้าที่ เหตุการณ์เลวร้ายก็ได้เริ่มขึ้น
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2014 Mt. Gox ก็มีข่าวเซอร์ไพรส์แก่ลูกค้า
อยู่ดี ๆ บริษัทสั่งระงับการถอนบิตคอยน์ทั้งหมด แต่ไม่ระงับการซื้อขายบนกระดาน
โดยให้สาเหตุว่า ระบบ Crypto Exchange มีปัญหาทางเทคนิคบางอย่าง จึงต้องระงับการถอนบิตคอยน์ไปก่อน
ผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ Mt. Gox ก็ยังคงไม่อนุญาตให้ผู้ใช้งานถอนเงินออกไปได้
จนทำให้เกิดการประท้วงอย่างหนักที่หน้าอาคารที่บริษัทตั้งอยู่
Mt. Gox จึงได้ย้ายสำนักงานไปอยู่ที่อื่น โดยอ้างว่าเพื่อความปลอดภัยของบริษัท
ช่วงเวลานี้ราคาบิตคอยน์บนกระดาน Mt. Gox ลดลงเหลือ 20% เมื่อเทียบกับรายอื่น ๆ
ซึ่งสะท้อนถึงการคาดการณ์ของตลาดว่า บริษัทไม่น่าจะสามารถจ่ายเงินให้กับลูกค้าที่ทำการถอนได้
และแล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปตามนั้นจริง Mt. Gox ระงับการซื้อขายทั้งหมด
หลายชั่วโมงต่อมา เว็บไซต์ของ Mt. Gox ก็เป็นหน้าว่างเปล่า
และบริษัทก็ได้ยื่นขอล้มละลายในเวลาต่อมา ปล่อยให้ลูกค้าหลายรายต้องสูญเสียเงิน
โดยในภายหลังมีข้อมูลเปิดเผยออกมาว่า
สาเหตุที่ Mt. Gox ปิดตัวลง ก็เพราะบริษัทโดนแฮกเกอร์ขโมยบิตคอยน์มาตลอดหลายปี ซึ่งเป็นจำนวนถึง 650,000 เหรียญ แต่บริษัทปกปิดปัญหาและไม่ยอมแก้ไข จึงนำไปสู่การล้มละลายในท้ายสุด
เหตุการณ์ในครั้งนั้น ถูกตีเป็นมูลค่าความเสียหาย 15,000 ล้านบาท
ถือว่าเป็นอันดับ 3 ของเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายในโลกคริปโทเคอร์เรนซีเลยทีเดียว
ถ้าหากถามว่าเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นความผิดของใคร ?
ส่วนหนึ่งก็คงตอบได้ว่าแฮกเกอร์
แต่อีกส่วนสำคัญที่ไม่แพ้กันเลยคือ การบริหารจัดการที่ล้มเหลวของ Karpeles..
ซึ่งหากเขาวางแผนและเตรียมตัวป้องกันหลังจากโดนแฮกครั้งแรก ก็คงไม่เจอกับจุดจบเช่นนี้
นี่จึงเป็นตัวอย่างที่สำคัญว่า ทำไมผู้บริหารถึงสำคัญต่อธุรกิจมาก ๆ โดยเฉพาะธุรกิจที่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้คนเป็นจำนวนมากอย่าง ตลาดซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี นั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
เหตุการณ์ Mt. Gox ถึงแม้จะถูกแฮกไป 650,000 บิตคอยน์ แต่ถ้าเทียบกับมูลค่าในสมัยนั้นจะมีมูลค่าแค่ 15,000 ล้านบาท สำหรับเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายในโลกคริปโทเคอร์เรนซีอันดับ 1 เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานนี้เอง โดยเกิดขึ้นกับ Poly Network เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมูลค่าความเสียหายในครั้งนี้มีมากถึง 20,000 กว่าล้านบาท แต่โชคดีที่คราวนี้แฮกเกอร์อ้างว่าแฮกเพื่อความสนุกเท่านั้น จึงทยอยคืนเงินในภายหลังจนใกล้ครบแล้ว...
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.wired.com/2014/03/bitcoin-exchange/
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-01-31/-trillion-dollar-mt-gox-demise-as-told-by-a-bitcoin-insider
-https://en.wikipedia.org/wiki/Mt._Gox
-https://en.wikipedia.org/wiki/Jed_McCaleb
-https://www.in2013dollars.com/bitcoin-price
-https://cointelegraph.com/top-people-in-crypto-and-blockchain/jesse-powell
spotify price 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ราคาเมล็ดกาแฟกำลังพุ่ง อาจทำให้ราคากาแฟสูงตาม เร็ว ๆ นี้ /โดย ลงทุนแมน
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า วันนี้ราคาเมล็ดกาแฟ ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการนำมาทำกาแฟที่เราดื่มกันทุกวันนี้ กำลังมีราคาเพิ่มขึ้นมาอย่างมาก
พอรู้แบบนี้แล้ว หลายคนก็เริ่มตั้งคำถามกันขึ้นมาว่า
ถ้าราคาวัตถุดิบอย่างเมล็ดกาแฟเพิ่มขึ้น
แล้วธุรกิจร้านขายกาแฟชื่อดังอย่าง Starbucks จะได้รับผลกระทบหรือไม่ ?
สาเหตุอะไร ที่ทำให้ราคาเมล็ดกาแฟปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ปัจจุบัน กาแฟนับเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดชนิดหนึ่งในโลก ทั้งยังเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากน้ำมัน
หากลองย้อนไปดูประวัติศาสตร์ของกาแฟแบบคร่าว ๆ จะพบว่า กาแฟเริ่มปลูกขึ้นครั้งแรกในแถบตะวันออกกลางในช่วงศตวรรษที่ 15
เวลาผ่านไปหลายร้อยปี ปัจจุบัน มีการปลูกกาแฟกันมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ที่เอื้อต่อการเติบโตของต้นกาแฟ
โดยเฉพาะประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปลาตินอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลองมาดู 3 ประเทศ ที่ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่ของโลก ในปี 2019
1. บราซิล ปริมาณการผลิต 3.6 ล้านเมตริกตันต่อปี
2. เวียดนาม ปริมาณการผลิต 1.8 ล้านเมตริกตันต่อปี
3. โคลอมเบีย ปริมาณการผลิต 0.9 ล้านเมตริกตันต่อปี
จากตัวเลขที่เห็นนี้ รู้ไหมว่า แค่ปริมาณการผลิตเมล็ดกาแฟจากบราซิลประเทศเดียว ก็คิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของปริมาณการผลิตของโลก
ดังนั้น หากเกิดเหตุการณ์อะไรที่มากระทบกับปริมาณการผลิตกาแฟภายในประเทศเหล่านี้ ก็ย่อมจะส่งผลต่อราคาเมล็ดกาแฟอย่างมีนัยสำคัญ
ทีนี้เราลองมาดู เหตุการณ์สำคัญ ที่ทำให้ราคาเมล็ดกาแฟปรับตัวสูงขึ้น
- สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนในแถบอเมริกาใต้
ช่วงที่ผ่านมา เกิดสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนในแถบอเมริกาใต้ โดยเฉพาะบริเวณประเทศบราซิล ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตเมล็ดกาแฟของบราซิล
อุณหภูมิที่ลดต่ำอย่างรวดเร็วในบางช่วง ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำค้างแข็ง เกาะบริเวณต้นและใบของต้นกาแฟที่อยู่ในช่วงของการเจริญเติบโต ซึ่งไม่ใช่สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับต้นกาแฟ
โดยเฉพาะพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศที่ชื่อว่า “Minas Gerais” ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกกาแฟหลักของประเทศ
ในปี 2020 รัฐแห่งนี้เป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟสายพันธุ์อะราบิการายใหญ่ที่สุดในบราซิล โดยมีปริมาณการผลิตคิดเป็นสัดส่วนกว่า 74% ของปริมาณการผลิตของประเทศ
- เหตุการณ์การประท้วง ในโคลอมเบีย
ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประชาชนจำนวนมากได้ออกมาคัดค้านและต่อต้านการปฏิรูปภาษีของรัฐบาลของประเทศตนเอง
กลุ่มผู้ประท้วง ตอบโต้การกระทำของรัฐบาลด้วยการออกมาปิดเส้นทางสัญจรในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ส่งผลให้การขนส่งสินค้าต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างหนัก
รวมถึงการขนส่งเมล็ดกาแฟและผลิตภัณฑ์จากเมล็ดกาแฟอื่น ๆ เนื่องจากการปิดถนน ทำให้ผู้ส่งออกหลายราย ไม่สามารถรับกาแฟและเมล็ดกาแฟเพื่อไปส่งออกได้ และทำให้ยอดการส่งออกเมล็ดกาแฟของประเทศลดลง
สองเรื่องนี้ ถือเป็นปัจจัยหลัก ๆ ในช่วงที่ผ่านมาและในตอนนี้ ที่ทำให้ราคาเมล็ดกาแฟที่ซื้อขายกันในตลาดนั้นเพิ่มสูงขึ้น
สิ้นปี 2020 ราคาเมล็ดกาแฟเท่ากับ 1.28 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนัก 1 ปอนด์
สิ้นเดือนกรกฎาคม 2021 ราคาเมล็ดกาแฟเท่ากับ 1.80 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนัก 1 ปอนด์
จะเห็นว่าในระยะเวลา 7 เดือนที่ผ่านมา ราคาเมล็ดกาแฟปรับขึ้นมาประมาณ 41%
นอกจากนั้น ราคาเมล็ดกาแฟอะราบิกาในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ICE Futures ในสหรัฐอเมริกา ก็มีราคาสูงขึ้นมาก ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
พอหลายคนรู้แบบนี้ก็น่าจะคิดต่อไปว่า แล้วธุรกิจร้านกาแฟที่ต้องอาศัยวัตถุดิบสำคัญอย่างเมล็ดกาแฟ จะได้รับผลกระทบแค่ไหน ? โดยเฉพาะ “Starbucks” ที่ทำธุรกิจเชนร้านกาแฟที่มีสาขาทั่วโลก
โดยทั่วไปแล้ว บริษัทที่ขายเครื่องดื่มที่ใช้กาแฟเป็นวัตถุดิบนั้น มักจะทำสัญญาซื้อเมล็ดกาแฟล่วงหน้า เพื่อลดความผันผวนของราคาต้นทุน
ซึ่งในกรณีของ Starbucks บริษัทบอกว่าทำสัญญา ซื้อเมล็ดกาแฟล่วงหน้าประมาณ 14 เดือน
และบริษัทยังได้ระบุว่า ราคาการซื้อเมล็ดกาแฟของบริษัท มีการทำสัญญาล่วงหน้าไว้แล้ว ทั้งสำหรับปี 2021 และ 2022
หมายความว่า ราคาเมล็ดกาแฟที่ปรับขึ้นในปัจจุบัน ก็คงยังไม่ได้ส่งผลกระทบกับบริษัทมากเท่าไร เนื่องจากต้นทุนเมล็ดกาแฟที่บริษัทซื้อนั้น เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นในช่วงที่ราคายังไม่ปรับตัวสูงก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม ถ้าราคาเมล็ดกาแฟยังปรับตัวสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ บริษัทขายเครื่องดื่มหลายแห่งที่ใช้เมล็ดกาแฟเป็นวัตถุดิบก็ต้องเข้าไปทำสัญญาซื้อเมล็ดกาแฟล่วงหน้าในราคาที่สูงขึ้น
ดังนั้นก็เป็นไปได้ว่า หากราคาเมล็ดกาแฟยังมีราคาอยู่ในระดับสูงแบบนี้
พวกเราก็จะต้องจ่ายเงินซื้อกาแฟที่แพงขึ้น ในเร็ว ๆ นี้..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่าในปี 2019 ทั่วโลกมีการบริโภคกาแฟวันละ 2,250 ล้านแก้ว โดยประเทศที่บริโภคกาแฟมากที่สุดในโลกคือ สหรัฐอเมริกา ที่มีการบริโภคกาแฟ เฉลี่ยวันละ 500 ล้านแก้ว
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://markets.businessinsider.com/commodities/coffee-price
-https://globalnews.ca/news/8091684/retail-coffee-prices-to-climb/
-https://www.investing.com/commodities/us-coffee-c
-https://farrerscoffee.co.uk/top-10-coffee-producing-countries-around-the-world/
-https://elevencoffees.com/top-coffee-producing-countries/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Minas_Gerais
-https://worldpopulationreview.com/country-rankings/coffee-consumption-by-country
-https://perfectdailygrind.com/2021/05/the-colombia-protests-how-is-the-situation-affecting-the-population-and-the-coffee-sector/
-https://www.mreport.co.th/news/industry-movement/214-Container-Shortage-2021
-https://www.businessinsider.com/starbucks-hedges-coffee-prices-taking-a-cue-from-airlines-2021-7
-https://www.dearretailinvestors.com/the-coffee-crisis-is-coming/
spotify price 在 3cTim哥生活日常 Youtube 的最佳解答
這次找了10號員工來幫忙當個Model拍5G手機 vivo X70 Pro實測開箱 這拍照太強了到底是相機還是手機?而且電力足有快充 螢幕尺寸大又輕
vivo官網:https://vivobm.tw/x70por
加入我的Line@生活圈⬇︎
@3ctim
訂閱3cTim哥副頻道⬇︎
http://bit.ly/36gDKs7
加入頻道會員⬇︎
http://bit.ly/2LoUuox
現在Podcast也可以聽得到Tim哥的科技午報了
Apple https://apple.co/2IupRwH
Google https://bit.ly/3hMfwMn
Spotify https://spoti.fi/32ZflZS
訂閱3cTim哥主頻道⬇︎
http://bit.ly/2MgPy4H
訂閱Tim嫂頻道⬇︎
http://bit.ly/2PEnHMZ
追蹤3cTim哥即時動態⬇︎
instagram☛http://bit.ly/2HCZ52j
facebook☛http://bit.ly/2JyOGGK
Tim哥嚴選商城 🛍️ 3C購物
官方網站▶️ https://goo.gl/jW7cny
App Store▶️ https://goo.gl/67foDK
Google PlayStore▶️ https://goo.gl/l6B5Zp
*圖片內容截取自Google搜尋網站
**音樂與音效取自Youtube及Youtube音樂庫
spotify price 在 3cTim哥生活日常 Youtube 的最佳解答
2021 Apple Event蘋果秋季發表會結束了!這邊幫大家統整了此次發表會的亮點,看到iPad mini 6真的太興奮了啦!只是這次居然沒有AirPods 3?!
傑昇通信挑戰手機市場最低價,門號續約攜碼再享高額購機折扣!買手機來傑昇好節省!
空機破盤價格查詢:https://www.jyes.com.tw/product
00:16 iPad 9
00:45 iPad mini 6
01:24 Apple Watch s7
02:08 iPhone 13/ iPhone 13 mini
03:15 iPhone 13 Pro/ iPhone 13 Pro Max
04:16 結尾
影片圖片來源:Apple官網
加入我的Line@生活圈⬇︎
@3ctim
訂閱3cTim哥副頻道⬇︎
http://bit.ly/36gDKs7
加入頻道會員⬇︎
http://bit.ly/2LoUuox
現在Podcast也可以聽得到Tim哥的科技午報了
Apple https://apple.co/2IupRwH
Google https://bit.ly/3hMfwMn
Spotify https://spoti.fi/32ZflZS
訂閱3cTim哥主頻道⬇︎
http://bit.ly/2MgPy4H
訂閱Tim嫂頻道⬇︎
http://bit.ly/2PEnHMZ
追蹤3cTim哥即時動態⬇︎
instagram☛http://bit.ly/2HCZ52j
facebook☛http://bit.ly/2JyOGGK
Tim哥嚴選商城 🛍️ 3C購物
官方網站▶️ https://goo.gl/jW7cny
App Store▶️ https://goo.gl/67foDK
Google PlayStore▶️ https://goo.gl/l6B5Zp
*圖片內容截取自Google搜尋網站
**音樂與音效取自Youtube及Youtube音樂庫
spotify price 在 3cTim哥生活日常 Youtube 的精選貼文
大家趕緊看回放因為抽獎只到9/15晚上11:59分喔連結在下面的google表單
參加iPhone13抽獎 https://forms.gle/wFMByD8YNYBLRMmg8
抽獎規則:
1.訂閱 3cTim哥Youtube頻道 https://bit.ly/2VyiJcV
2.按讚 德誼數位科技官方粉絲頁 https://bit.ly/3lfkXXp
3.按讚 犀牛盾 RhinoShield 粉絲頁 https://bit.ly/3k2og4Y
4.填入三個直播通關密語
*活動時間至2021/9/16 00:00截止,後續回覆不納入參與*
主辦單位保有最終修改、變更、活動解釋及取消本活動之權利,若有相關異動將會公告於網站, 恕不另行通知。
加入徳誼官方會員即可獲得$100元 iPhone13購物金!
https://www.dataexpress.com.tw/page-activity-detail/d23842f3-19d1-4469-a385-06c36cbf6108
犀牛盾預購頁面:https://bit.ly/3AcFRfV
折扣碼:yttim2009
加入我的Line@生活圈⬇︎
@3ctim
訂閱3cTim哥副頻道⬇︎
http://bit.ly/36gDKs7
加入頻道會員⬇︎
http://bit.ly/2LoUuox
現在Podcast也可以聽得到Tim哥的科技午報了
Apple https://apple.co/2IupRwH
Google https://bit.ly/3hMfwMn
Spotify https://spoti.fi/32ZflZS
訂閱3cTim哥主頻道⬇︎
http://bit.ly/2MgPy4H
訂閱Tim嫂頻道⬇︎
http://bit.ly/2PEnHMZ
追蹤3cTim哥即時動態⬇︎
instagram☛http://bit.ly/2HCZ52j
facebook☛http://bit.ly/2JyOGGK
Tim哥嚴選商城 🛍️ 3C購物
官方網站▶️ https://goo.gl/jW7cny
App Store▶️ https://goo.gl/67foDK
Google PlayStore▶️ https://goo.gl/l6B5Zp
*圖片內容截取自Google搜尋網站
**音樂與音效取自Youtube及Youtube音樂庫
spotify price 在 Connor Price & Nic D - Let Go (Spotify Single) Lyric Video 的推薦與評價
Stream now: https://open. spotify.com/track/1tYTIFvg7nCrVnmiK88yOr?si=5f7591cf46634f2c Lyric Video by: Victor Carpentier IG ... ... <看更多>
spotify price 在 Spotify and YouTube raise their premium-service pricing 的推薦與評價
Spotify announced Monday it will increase the price of its premium service by $1, to $10.99. The music streaming giant said existing premium ... ... <看更多>